วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2562

Learning Log 7
-🌈Monday 23rd September 2019⭐️-
08:30 - 12:30 PM


✏️วันนี้อาจารย์ให้พวกเราออกมานำเสนอการจัดการเรียนการสอนแบบต่างๆ เช่น
      Highscope ไฮสโคป
      Project Approach
      นวัตกรรม STEM
      การสอนแบบ Montessori
      นวัตกรรม EF (Executive Functions)

📌 กลุ่มที่ 5 📌 : นวัตกรรม EF (Executive Functions)
 EF คืออะไร?
     ทักษะ EF ย่อมาจาก Executive Function คือกระบวนการทำงานของสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับความคิด ความรู้สึกและการกระทำ ซึ่งมีความสำคัญต่อการตัดสินใจ การวางเเผนและการบริหารจัดการในชีวิตประจำวันของเรา งานวิจัยเผยว่าเด็กอายุระหว่าง 3-6 ปีเป็นช่วงเวลาที่เด็กสามารถพัฒนา EF ได้ดีที่สุด เพราะ เป็นช่วงที่สมองส่วนหน้าซึ่งเป็นสมองส่วนที่ทักษะ EF ทำงานกำลังมีการพัฒนาเจริญเติบโตมากที่สุด

 ทักษะ Executive Function (EF) ได้จากการเล่นนะรู้ไหม?
     เมื่อก่อนเราอาจจะคุ้นเคยกับ IQ EQ แต่ในปัจจุบันกระบวนการพัฒนาสมอง EF เป็นที่พูดถึงบ่อยครั้งและเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมอารมณ์ ความคิด การวางแผนแก้ไขปัญหาในเด็ก ซึ่ง EF นั้นไม่ใช่ทักษะที่เด็กได้มาตั้งเเต่เกิด เเต่สามารถสร้างได้ด้วยการฝึกฝน พัฒนา และสภาพเเวดล้อมที่ดี


 EF ประกอบด้วยทักษะ 9 ด้าน ได้เเก่
1. ทักษะการจำเพื่อใช้งาน (Working Memory)
     คือ ความสามารถของเด็กในการบันทึกข้อมูลหรือสิ่งที่เด็ก ๆ ได้เรียนรู้มาไว้ในสมอง เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมที่ตนเองมี และนำมาใช้ในสถานการณ์ที่เหมาะสมได้
2. ทักษะยั้งคิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control)
     ความสามารถของเด็ก ๆ ในการในการควบคุมและยับยั้งตนเอง ให้จดจ่อกับสิ่งที่สำคัญและจำเป็น ยอมทำสิ่งที่ไม่ชอบแต่จำเป็นได้ และยอมถอนตัวออกจากสิ่งที่ชอบเมื่อถึงเวลาที่จำเป็นได้ เช่น ยับยั้งตนเองไม่ให้กินไอศกรีม เพราะรู้ว่าตนเองเป็นหวัด
3. ทักษะยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility)
     ความสามารถในการปรับเปลี่ยนความคิด ยืดหยุ่น ปรับตัวไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และยังรวมถึงการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่หลากหลาย เมื่อพบเจอกับสิ่งที่ไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ก็สามารถทำใจยอมรับได้
กิจกรรมที่ควรส่งเสริม 
4.ทักษะการควบคุมอารมณ์ (Emotion Control)
     ความสามารถของเด็ก ในการรับรู้ บอกอารมณ์ของตนเอง รวมถึงควบคุมการแสดงออกทางอารมณ์ให้ออกมาอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น เมื่อเด็กแย่งของเล่นกันกับเพื่อน ก็รู้ว่าตนเองโกรธ โมโห แต่ไม่ตีหรือทำร้ายเพื่อน (สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้) เป็นการฝึกให้เด็กรู้จักผ่อนคลายอารมณ์ด้วยการกอด ลูบหลัง และคำพูดที่ดี
กิจกรรมที่ควรส่งเสริม
5. ทักษะการจดจ่อใส่ใจ (Focus/Attention)
     คือความสามารถในการจดจ่อกับการทำกิจกรรม ไม่วอกแวกไปตามสิ่งเร้าที่เข้ามา
6.ทักษะติดตามประเมินตนเอง (Self-Monitoring)
     คือ ความสามารถในการทบทวนตนเอง หรือสิ่งที่ตนเองทำ รู้ข้อดี ข้อด้อยของตนเอง และปรับปรุงข้อดีข้อด้อยนั้น ๆ สามารถประเมินผลงาน การบ้าน หรือสิ่งที่ตนเองทำ ว่าควรปรับปรุงแก้ไขที่ใดกิจกรรมที่ควรส่งเสริม 
7. ทักษะริเริ่มและลงมือทำ (Initiating)
     คือ ความสามารถในการ “คิด” ที่จะทำสิ่งใหม่ที่ตนเองไม่เคยทำ หรือยังทำไม่สำเร็จ และ “ลงมือทำ” สิ่งนั้นให้สำเร็จด้วยตนเอง
8. ทักษะวางแผนและจัดระเบียบ (Planning & Organizing)
     รู้จักวางแผนให้รอบคอบก่อนลงมือทำ จัดลำดับความสำคัญ จัดหมวดหมู่สิ่งต่าง ๆ ได้ดี และวางแผนอย่างเป็นระบบได้
กิจกรรมที่ควรส่งเสริม 
9. ทักษะมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence)
     ไม่ล้มเลิกเมื่อเจออุปสรรค แต่จะพยายามเรียนรู้และปรับปรุงวิธีทำงานให้ผ่านพ้นปัญหาไปได้กิจกรรมที่ควรส่งเสริม 




การนำเสนอของกลุ่มที่ 5 คือ การแสดงบทบาทสมมติโดยให้เด็กออกมาทำช่วยกันทำกิจกรรมโดยเราจะให้โจทย์ คือ ให้สร้างสะพานอย่างไรก็ได้ให้ลูกปิงปองสามารถผ่านไปได้นานที่สุด มีวัสดุ-อุปกรณ์ให้ คือ หลอด ดินน้ำมัน เทปกาว ลูกปิงปองและไม้เสียบลูกชิ้น โดยมีเวลาจำกัดให้ในแต่ละรอบ

📌 กลุ่มที่ 6 📌 : นวัตกรรม EF (Executive Functions)
♦ ประโยชน์ของนวัตกรรม EF 
   - ส่งผลให้มีความจำที่ดี จดจ่อทำงานต่อเนื่องได้สำเร็จ
   - รู้จักการคิดวิเคราะห์ วางแผนการทำงานอย่างมีระบบ
   - มีความอดทน รอคอยได้ มีความรับผิดชอบ

♦ ข้อจำกัดของนวัตกรรม EF
   - ความจำไม่ดี เรียนรู้ไม่ได้มาก
   - ปรับตัวไม่ได้
   - อารมณ์ฉุนเฉียว
   - มีปัญหาการเข้าสังคม
   - มีแนวโน้มเจ็บป่วย
   - มีโอกาสจัดสินใจผิดพลาดให้ชีวิต
   - เสี่ยงต่อภาวะบกพร่องทางสมอง


📌 กลุ่มที่ 7 📌 : นวัตกรรม Project Approach
 ระยะที่1 - เริ่มต้น
     เด็กๆเลือกว่าจะศึกษาเรื่องอะไร โดยครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ เด็กๆอภิปรายว่า มีความรู้เดิมอะไร เกี่ยวกับเรื่องที่เลือกแล้วบ้าง ครูช่วยให้เด็กๆบันทึกความคิดของเด็กๆ ด้วยวิธีต่างๆ เด็กๆบอกข้อสงสัยที่เด็กๆมีเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กๆจะเรียนรู้ และครูช่วยให้เด็กๆสรุปตั้งคำถามที่เด็กๆต้องการ หาคำตอบในระหว่างการสำรวจสืบค้นครั้งนี้ และบันทึกคำถามเหล่านั้น เด็กๆพูดคุยเกี่ยวกับว่าคำตอบที่เด็กๆจะสำรวจสืบค้นได้นั้น น่าจะเป็นอะไร อย่างไร ครูช่วยเด็กๆบันทึกความคาดคะเนของเด็กๆไว้ เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลในภายหลัง
 ระยะที่2 - การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้
     ครูช่วยเด็กๆวางแผนไปสถานที่ต่างๆ ที่เด็กๆสามารถสำรวจ สืบค้นได้ รวมถึงการจัดหาวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เด็กๆสนใจเรียนรู้ ที่จะสามารถตอบคำถามของเด็กๆได้ มาให้ความรู้กับเด็กๆ เด็กๆใช้หนังสือและคอมพิวเตอร์ในการสืบค้นข้อมูล โดยมีครูเป็นผู้ช่วยเหลือ ในระหว่างกิจกรรมในวงกลมที่เด็กๆสามารถประชุมร่วมกัน และนำเสนอรายงานสิ่งที่เด็กๆค้นพบในการทำกิจกรรมต่างๆเป็นระยะ ครูส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กๆถามคำถามและให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กๆแต่ละคนได้ค้นพบคำตอบหรือเรียนรู้ด้วย เด็กๆวาดภาพ ถ่ายภาพ เขียนคำและป้ายต่างๆ สร้างกราฟและหรือแผนภูมิสิ่งที่เด็กๆวัดและนับ แล้วเด็กๆก็สร้างจำลองสิ่งที่เด็กๆสนใจเรียนรู้กัน เมื่อเด็กๆเรียนรู้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เด็กๆสามารถพิจารณาทบทวนและเพิ่มเติมหรือทำจำลองใหม่ให้ดีขึ้นกว่าเดิมไปได้เรื่อยๆด้วย
 ระยะที่3 - การสรุป Project
     เด็กๆอภิปรายกันถึงหลักฐานต่างๆที่เด็กๆได้สืบและค้นพบที่ช่วยให้เด็กๆตอบคำถามที่เด็กๆตั้งไว้ได้ และเด็กๆจะได้เปรียบเทียบสิ่งที่เด็กๆเรียนรู้กับความรู้เดิมของเด็กๆว่าตรงกันหรือไม่ รวมถึงเปรียบเทียบกับการคาดคะเนของเด็กๆที่ทำไว้ตั้งแต่ระยะแรกด้วย เด็กๆช่วยกันวางแผนจัดแสดงให้ผู้ปกครองและเพื่อนๆ และบุคคลอื่นๆได้เห็น วิธีการเรียนรู้ กิจกรรม ผลงาน และสิ่งที่เด็กๆค้นพบเรียนรู้ เด็กๆลงมือจัดแสดงเพื่อแบ่งปันความรู้และเรื่องราวเกี่ยวกับ Project Approach ของเด็กๆ

   

📌 กลุ่มที่ 8 📌 : นวัตกรรม STEM ย่อมาจากคำว่า

     🧪 S = Science วิทยาศาสตร์
     🖥️ T = Technology เทคโนโลยี
     ⚙️ E = Engineering วิศวกรรมศาสตร์
     🔢 M = Mathematics คณิตศาสตร์
     เป็นการบูรณาการความรู้วิชาต่างๆไปใช้เชื่อมโยงและแก้ไขปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนาการหรือผลผลิตใหม่ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21



 📌 กลุ่มที่ 9 📌 : นวัตกรรมมอนเตสเซอรี่ (Montessori) คือ การพัฒนาให้เด็กมีอิสระด้านบุคลิกภาพของเด็ก เด็กมีอิสรภาพให้การเลือกจากสิ่งแวดล้อม จะพัฒนาเรียนรู้การทำงานด้วยตนเองและมีความรับผิดชอบ

📌 กลุ่มที่ 9 📌 : นวัตกรรมมอนเตสเซอรี่ (Montessori)
หลักการสอนมอนเตสเซอรี่มีอยู่ 5 ข้อได้แก่
เด็กจะต้องได้รับการยอมรับนับถือ
เด็กที่มีจิตซึมซาบได้
ช่วงเวลาหลักของชีวิต
การเตรียมสิ่งแวดล้อม
การศึกษาด้วยตนเอง
___________________________

Assessment 📚
Self - Assessment of student : ตั้งใจเรียนและมีส่วนร่วมกับการจัดกิจกรรมของเพื่อนแต่ละกลุ่มค่ะ
Member Assessment : เพื่อนๆตั้งใจจัดกิจกรรมค่ะ

Teacher Assessment : 
Learning Log 6
-🌈Monday 17th September 2019⭐️-
08:30 - 12:30 PM


✏️วันนี้อาจารย์ให้พวกเราออกมานำเสนอการจัดการเรียนการสอนแบบต่างๆ เช่น
      Highscope ไฮสโคป
      Project Approach
      นวัตกรรม STEM
      การสอนแบบ Montessori
      นวัตกรรม EF (Executive Functions)

📌 กลุ่มที่ 1 📌 : นวัตกรรม High Scope (ไฮสโคป) เป็นการสอนที่เน้นการลงมือทำผ่านการเล่นที่หลากหลายด้วย สื่อ กิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงวัยและมีการแก้ไขปัญหา

หัวใจสำคัญของนวัตกรรมการ High Scope
   👉🏻 Plan การวางแผน
   👉🏻 Do ลงมือกระทำ
   👉🏻 Review ทบทวน



การนำเสนอของกลุ่มที่ 1 คือ การแสดงบทบาทสมมติโดยการใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ หลังจากที่แสดงบทบาทสมมติเสร็จมีการให้ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรม High Scope โดยการเขียนชาร์ตให้ความรู้

📌 กลุ่มที่ 2 📌 : นวัตกรรม High Scope (ไฮสโคป) ได้อธิบายเกี่ยวกับแนวคิด วงล้อแห่งการเรียนรู้

 พื้นที่การเก็บหรือการจัดสิ่งแวดล้อม จัดพื้นที่ในห้องเป็น 5 ส่วน
     - พื้นที่ไว้ใช้เก็บของส่วนตัวสำหรับเด็ก
     - พื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อย
     - พื้นที่ตามมุมต่างๆในห้องเรียน
     - พื้นที่ติดผลงานของเด็ก
     - พื้นที่ของคุณครู
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่กับเด็กเน้นการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี เริ่มจากการสร้างความไว้ใจกับตัวเด็ก
กลยุทธ์ปฏิสัมพันธ์การกระทำ ส่งเสริม แก้ไขปัญหาหรือ Plan - Do - Review 
มีการประเมินจากคณะทำงาน การบันทึกประจำวัน การวางแผนกิจกรรมและผลงานของเด็ก




การนำเสนอของกลุ่มที่ 2 คือ การแสดงบทบาทสมมติโดยใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ โดยให้เด็กเลือกกลุ่มที่จะทำกิจกรรมและให้เลือกกิจกรรมการทำศิลปะ มี 3 อย่างแล้วแต่ว่าเด็กจะเลือกทำกิจกรรมไหน หลังจากนั้นเมื่อทำเสร็จคุณครูมีการสอบถามว่ารูปภาพที่ทำคืออะไร


📌 กลุ่มที่ 3 📌 : นวัตกรรม Project Approach แบ่งออกเป็นทั้งหมด 3 ระยะ

 ระยะที่1 - เริ่มต้น
     เด็กๆเลือกว่าจะศึกษาเรื่องอะไร โดยครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ เด็กๆอภิปรายว่า มีความรู้เดิมอะไร เกี่ยวกับเรื่องที่เลือกแล้วบ้าง ครูช่วยให้เด็กๆบันทึกความคิดของเด็กๆ ด้วยวิธีต่างๆ เด็กๆบอกข้อสงสัยที่เด็กๆมีเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กๆจะเรียนรู้ และครูช่วยให้เด็กๆสรุปตั้งคำถามที่เด็กๆต้องการ หาคำตอบในระหว่างการสำรวจสืบค้นครั้งนี้ และบันทึกคำถามเหล่านั้น เด็กๆพูดคุยเกี่ยวกับว่าคำตอบที่เด็กๆจะสำรวจสืบค้นได้นั้น น่าจะเป็นอะไร อย่างไร ครูช่วยเด็กๆบันทึกความคาดคะเนของเด็กๆไว้ เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลในภายหลัง
 ระยะที่2 - การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้
     ครูช่วยเด็กๆวางแผนไปสถานที่ต่างๆ ที่เด็กๆสามารถสำรวจ สืบค้นได้ รวมถึงการจัดหาวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เด็กๆสนใจเรียนรู้ ที่จะสามารถตอบคำถามของเด็กๆได้ มาให้ความรู้กับเด็กๆ เด็กๆใช้หนังสือและคอมพิวเตอร์ในการสืบค้นข้อมูล โดยมีครูเป็นผู้ช่วยเหลือ ในระหว่างกิจกรรมในวงกลมที่เด็กๆสามารถประชุมร่วมกัน และนำเสนอรายงานสิ่งที่เด็กๆค้นพบในการทำกิจกรรมต่างๆเป็นระยะ ครูส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กๆถามคำถามและให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กๆแต่ละคนได้ค้นพบคำตอบหรือเรียนรู้ด้วย เด็กๆวาดภาพ ถ่ายภาพ เขียนคำและป้ายต่างๆ สร้างกราฟและหรือแผนภูมิสิ่งที่เด็กๆวัดและนับ แล้วเด็กๆก็สร้างจำลองสิ่งที่เด็กๆสนใจเรียนรู้กัน เมื่อเด็กๆเรียนรู้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เด็กๆสามารถพิจารณาทบทวนและเพิ่มเติมหรือทำจำลองใหม่ให้ดีขึ้นกว่าเดิมไปได้เรื่อยๆด้วย
 ระยะที่3 - การสรุป Project

     เด็กๆอภิปรายกันถึงหลักฐานต่างๆที่เด็กๆได้สืบและค้นพบที่ช่วยให้เด็กๆตอบคำถามที่เด็กๆตั้งไว้ได้ และเด็กๆจะได้เปรียบเทียบสิ่งที่เด็กๆเรียนรู้กับความรู้เดิมของเด็กๆว่าตรงกันหรือไม่ รวมถึงเปรียบเทียบกับการคาดคะเนของเด็กๆที่ทำไว้ตั้งแต่ระยะแรกด้วย เด็กๆช่วยกันวางแผนจัดแสดงให้ผู้ปกครองและเพื่อนๆ และบุคคลอื่นๆได้เห็น วิธีการเรียนรู้ กิจกรรม ผลงาน และสิ่งที่เด็กๆค้นพบเรียนรู้ เด็กๆลงมือจัดแสดงเพื่อแบ่งปันความรู้และเรื่องราวเกี่ยวกับ Project Approach ของเด็กๆ





 การนำเสนอของกลุ่มที่ 3 คือ การแสดงบทบาทสมมติโดยจัดทำ Project เรื่องช้าง

📌 กลุ่มที่ 4 📌 : นวัตกรรม STEM ย่อมาจากคำว่า

     🧪 S = Science วิทยาศาสตร์
     🖥️ T = Technology เทคโนโลยี
     ⚙️ E = Engineering วิศวกรรมศาสตร์
     🔢 M = Mathematics คณิตศาสตร์
     เป็นการจัดกิจกรรมโดยบูรณาการของวิชาต่างๆให้มีความเชื่อมโยงกัน



การนำเสนอของกลุ่มที่ 4 คือ การแสดงบทบาทสมมติโดยจัดกิจกรรมให้เด็กออกมาช่วยกันแก้ปัญหา โดยคุณครูจะให้โจทย์ปัญหามา คือ การที่เราจะแบกเหรียญเราจะสร้างเรือแบกเหรียญอย่างไรให้เหรียญไม่จม โดยมีวัสดุ-อุปกรณ์ให้ คือ ดินน้ำมัน เหรียญ กะละมังที่มีน้ำ 

___________________________

Assessment 📚
Self - Assessment of student : ตั้งใจเรียนและมีส่วนร่วมกับการจัดกิจกรรมของเพื่อนแต่ละกลุ่มค่ะ
Member Assessment : เพื่อนๆตั้งใจจัดกิจกรรมค่ะ
Teacher Assessment :